วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นกกก

                    นกกกหรือนกกาฮัง(Great hornbill)เป็นประจำถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดานกในวงศ์นกเงือก (Bucerotidae)พบในอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ของจีน พม่า มาเลเชีย สุมาตรา สำหรับในประเทศนั้น พบได้ทั่วๆไปยกเว้นตอนกลางของประเทศ ชอบอาศัยในป่าดงดิบ ตั้งแต่พื้นราบจนถึงระดับความสูง 2,000 เมตรส่วนใหญ่จะอยู่บนต้นไม้ ลงมายังพื้นดินเพื่อจิกกินอาหารเท่านั้น กินผลไม้เป็นอาหารหลัก นอกจาก นี้ยังกินแมลง นก หนู และสัตว์เลื้อยคลานอีกด้วย นกในวงศ์นกเงือกนี้มีพฤติกรรมการสร้างรัง และการผสมพันธุ์ น่าสนใจมาก มันจะสร้างรังอยู่ในโพรงไม้ขนาดใหญ่ สำหรับนกกกนั้นจะ สร้างรังในโพรงไม้ขนาดใหญ่ที่อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 12-22 เมตรเมื่อใกล้ ฤดูผสมพันธุ์ ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันหาโพรงไม้ที่จะใช้เป็นรัง เมื่อพบ แล้วนกตัวผู้จะบินเข้าสำรวจที่ปากโพรง และกระตุ้นนกตัวเมียให้เข้าไป สำรวจโดยการบินกลับไปกลับมาที่รังบางครั้งจะบินไปคายเศษอาหารลงในรัง ถ้าเมียตอบรับก็จะบินเข้าไปสำรวจโพรงไม้หลังจากนั้นนก ทั้งคู่ก็จะบินมาเกาะกิ่งไม้เคียงคู่กัน นกตัวผู้จะยื่นผลไม้สุกแดงให้ตัวเมีย ในระยะแรกนกตัวเมียจะไม่ยอมรับอาหารจากตัวผู้ นกตัวผู้จะพยายามอยู่นาน ในขณะเดียวกันก็จะบินมาเกาะรอบรัง ขยอกเศษอาหารลงไปในรังเป็นครั้ง คราว หลังจากนกตัวเมียยอมรับอาหารแล้วการผสมพันธุ์ก็เกิดขึ้น
หลังจากนั้นอีก 2-3 วัน นกตัวเมียก็เริ่มทำความสะอาดรัง ขจัด เศษดิน เศษอาหาร ขนนกและมูลนกออกจากรัง แล้วเริ่มเข้าไปปิดปากรัง จากด้านใน โดยใช้ดิน เศษอาหาร และมูลของนกเองนกจะปิดปาก รังจากด้านข้างเข้า ใช้ปากด้านข้างเกลี่ยให้เรียบ ขณะที่นกตัวเมียกำลังปิด ปากรังนกตัวผู้จะเกาะกิ่งไม้คอยอยู่ด้านนอก บางครั้งจะช่วยเอาดินมาให้ นกตัวเมีย หรือช่วยเอาดินมาปิดปากรังตัวเมียออกจากรังด้านนอก เมื่อตัวเมียออกจากรัง รังก็จะป้อนอาหารให้ทันที ระยะปิดปากรังจะกินเวลาประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วนกตัวเมียก็จะเข้าไปอยู่ในรัง แต่จะบินออกจากรังเป็นครั้งคราว อีก 5-8 วัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น