วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นกคัดคู

นกคัดคูเป็นนกที่นิยมแพร่หลายและ รู้จักกันไปทั่วโลก โครงสร้างส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้และเอกลักษณ์ ที่สำคัญของนกคัดคูคือ จะต้องมี นกคัดคู โผล่ออกมาส่งเสียง ร้อง คัด คู้ คัด คู้ ทุกๆ 1 ชั่วโมง คน ส่วนใหญ่จึงรู้จักนกคัดคู้ในนาฬิกามาก กว่ารู้จักนกคัดคู้ในธรรมชาติเสียอีก นกคัดคู้ ซึ้งเป็นนกวงศ์ใหญ่ มีนกมากถึง 150 ชนิด แตกต่างกันไปทั้งขนาด รูปร่าง สีสันและ อุปนิสัย แบ่งออกตามลักษณะของการสร้างรังแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1 กลุ่มของนกที่ไม่สร้างรังเอง หรือเรียกว่า นกคัดคู้แท้ นกในกลุ่มนี้มีประมาณ 50 ชนิด จัดทำเป็นกลุ่มของนกเจ้าปัญหา มีนิสัยขี้เกียจและเอาเปรียบผู้อื่น
2 กลุ่มของนกที่สร้างรังเอง เป็นนกที่รับผิดชอบต่อครอบครัวมาก สำหรับวางไข่ จะฟักไข่และเลี้ยงดูแลลูกเอง



นกนางแอ่นบ้าน

                 เป็นนกขนาดเล็กตัวโตพอๆ กับนกกระจอก ความยาวจากปลาย ปากถึงปลายหาง ประมาณ 20 เซนติเมตร คอสั้น ตัวเพรียว ปีกยาว เรียว ปากสั้นและแบน ปากมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เหมือนนกกินแมลงทั่วไป นกนางแอ่นบ้านมีเขตแพร่กระจายอยู่เกือบทั่วโลก ทั้งในยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย นกที่อพยพหนีอากาศหนาวจากไซบีเรีย ญี่ปุ่น เกาหลีเหลือ และ ใต้หวัน นกชนิดนี้จะมีการผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนในประเทศที่กล่าวมาและเพื่อความอยู่รอดนกกางแอ่นเหล่านี้จึงต้องอพยพลงมาทาง ใต้สู้ดินแดนที่อบอุ่นกว่า และอุดมสมบูรณ์กว่า การอพยพมีอยู่หลายเส้นทางด้วยกัน มันจะใช้ ชีวิต อยู่แถบนี้ ตลอดช่วงฤดูหนาวระหว่าง เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน จนได้เวลาที่อากาศเริ่มอุ่นขึ้น จึงอพยพกลับ สู้ถิ่นเดิม เพื่อการผสมพันธุ์ต่อไป

นกตะกรุม

นกตะกรุมเป็นนกที่คนไทยรู้จักดีในภาพ ของนกหัวล้านที่มีหน้าตาน่าขันเนื่อง จากส่วนหัวของนกตะกรุมตั้งแต่หัวไล่ลง มาถึงคออันยาวของมันปกคลุมกัน หนังสีเหลืองออกแดง ไม่มีขนแบบ ขนนกขึ้นอยู่เหมือนนกชนิดอื่นมีเพียง ขนเส้นเล็กๆขึ้นกระจายอยู่หรอมแหรม นกตะกรุมเป็นนกอยู่ในวงศ์นกกระสาในฤดูผสมพันธุ์จะมีสีแดงแต้มบริเวณโคนปาก ขายาวเรียวสีน้ำตาลแกมเขียว นกอายุน้อยจะมีสีดำค่อนข้างด้านและมีขนที่หัวและคอมากกว่านกที่โตแล้ว เวลาบินจะเห็นขนใต้ปีกเป็นสีดำตลอด ต่างกับนกตะกรามที่มีแถบขาวได้ปีก สำหรับประเทศไทยมีการรายงาน การพบที่จังหวัด ศรีสะเกษ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ตรัง พัทลุง และนราธิวาส

นกปากห่าง

นกปากห่างมาอยู่อาศัยมากที่สุดในประเทศไทย จนกระทั่งรัฐบาลได้ประกาศให้บริเวณวัดนี้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตั้งแต่ปี พ.. 2551 นกปากห่างเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจัดอยู่ในวงศ์นกกระสา นกในวงศ์นี้มีอยู่ใน เมืองเพียง 8 ชนิด เช่น นกกาบบัว นกกระสาขาว นกกระสาดำ นกกระสาคอขาว นกกระสาคอดำ นกตะกรุม นกตะกรามและนกปากห่างนกปากห่างมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศต่างๆทางทวีเอเชียใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา พม่า เขมร เวียดนาม และไทย




นกแต้วแร้วท้องดำ

นกแต้วแร้วท้องดำเป็นนก ที่สหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการ คุ้มครองธรรมชาติ และทรัพยากร ธรรมชาติ โดยระบุว่าเป็นนกที่อยู่ใน สภาพวิกฤตและยังไม่ทราบสถานภาพที่แน่ชัด ซึ่งหมายความว่านกชนิดนี้ อาจมีเหลืออยู่ในที่ใดที่หนึ่งหรืออาจสูญพันธุ์ไปแล้วก็ได้ เนื่องจากไม่มี รายงานการพบนกชนิดนี้ เลย ตั้งแต่ปี พ.. 2495 นกแต้วแร้วท้องดำ หรือชาวบ้านเรียกว่า นกเต้นสี หรือ นกเต้นบัว ลำตัวยาวประมาณ 21 เซนติเมตร มีลำตัวอ้วนป้อม ขายาวแต่หางสัน เป็นนกที่สวยงามมากที่สุด ชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะตัวผู้มีลักษณะสีสันเด่นมาก คือ มีสีขนบริเวณหูสีดำ ท้ายทอยสีฟ้าสดตัดกับหน้าผากเป็นต้น                                       

นกนางแอ่น

                พูดถึงนกนางแอ่นแล้ว หลาย ท่านที่ยังเข้าใจผิดและสับสนอยู่มากโดยเข้าใจ ว่านกนางแอ่นที่เห็นเกาะเป็นกลุ่มใหญ่อยู่ ตามสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ และที่กระจาย กันบินเฉวียนไล่จับแมลงกินอยู่กลาง อากาศในช่วงฤดูหนาว กับนกนางแอ่น  ลักษณะของปีก ท่าบิน และยังมีชื่อที่เรียกพ้องอีกด้วยจึงทำให้เกิดการเข้าใจผิดขึ้น นกนางแอน ที่เกาะอยู่ตามสายไฟนั้นมีชื่อว่า นกนางแอ่นบ้าน จัดเป็นนกที่หายากมากชนิดหนึ่งของโลกเลยที่เดียว เพราะมีเพียงแห่งเดียว ใน โลกที่บอระเพ็ด จังหวัดนครสรรค์เท่านั้นจึงสมควรที่พวกเราชาวไทย ทุกคนต้องอนุรักษ์นกนี้ไว้ให้ดีที่สุด

นกเป็ดผี

นกเป็ดผี เป็นนกขนาดเล็ก มีลำตัวยาวประมาณ 23  เซนติเมตร แม้จะถูกเรียกว่า เป็ดเพราะดูเวลาไกลๆคล้ายเป็ด แต่นกเป็ดผี ก็ไม่ใช่เป็ดซึ่งเป็นนก ลักษณะหลายอย่างต่างจากเป็ด เช่น  นกเป็ดฝีมีปากสั้น และแหลมไม่แบนลาวแบบปากเป็ด หางสั้นกูด ปีกเล็ก นิ้วเท้าเป็นแบบ ใบพ่าย ไม่ติดกันเป็นพืด แบบเป็ด มีขาค่อนไปทางด้านหลังของ ลำตัวเกือบถึงส่วนหางนกเป็ดผีจึงเดินได้ไม่ดีนักบนบกวิวัฒนาการของขา จึงมีเพื่อว่ายน้ำและการดำน้ำโดยเฉพาะ



นกขมิ้น

               นกขมิ้นเหลืองอ่อนค่ำแล้ว จะนอนที่ไหนเอย เป็นเพลงกล่อมเด็ก ที่คนไทยคุ้นหูกันดี นกขมิ้นนั้นจะมีลักษณะรูปร่าง หน้าตาเป็นอย่างไร เนื่องจากนกขมิ้น เป็นนกที่มีประชากรค่อนข้างน้อย อีก ทั้งเป็นนกที่ชอบอาศัยอยู่ตามป่า ตาม สวน มีนิสัยขี้ระแวง ตื่นกลัวง่ายจึง ไม่ชอบอยู่ใกล้ชุมชุนทำให้ไม่ค่อยพบเห็นได้บ่อยนัก นกขมิ้นเหลืองอ่อนที่ กล่าวถึงในบทเพลงกล่อมเด็กนั้นอาจหมายถึงนกในวงศ์นกขมิ้น หรือนกในวงศ์ นกขมิ้นน้อย

นกเจ้าฟ้า

                    นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรหรือที่ เรียกสั้นๆว่า นกเจ้าฟ้า นั้น จัดเป็นนกชนิดใหม่ของโลกและ พบแห่งเดียวเท่านั้นในโลกนี้คือมี ที่บึงบอระเพ็ด อำเอเมือง จังหวัดนครสรรค์ จากวันนั้นจนถึงวันนี้แทบจะกล่าวว่าเกือบ จะไม่มีผู้ใดได้เห็นนกเจ้าฟ้าอีกเลยหรือพบน้อยมากเหลือเกินอันเป็นเรื่องที่น่าห่วงใย นกเจ้าฟ้า ที่พบใหม่มีลักษณะคล้ายกับนกนางแอ่นลักษณะทั่วไปของนกชนิดนี้คือมีลำตัวยาวประมาณ 15 เซนติเมตรตัวสีดำเคลือบสีน้ำตาลเข้ม ขนสีดำบริเวณหน้าผากมีลักษณะหุ่มคล้ายกำมะหยี่ จะงอยปากแบนและกว้าง ขอบตาสีขาวเห็นเด่ชัดนัยน์ตาและม่านตาขาว อมชมพูเรื่อๆ สะโพกขาว หางสั้นกลมมน นกที่โตเต็มวัยจะมีขนหางคู่กลางคล้ายแกนเล็กๆ ยื่นออกมายาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีลักษณะคล้าย หางบ่วง  แต่ปลายบ่วงเล็กมาก

นกนักล่า

นกชนิดนี้ที่กินสัตว์อื่นที่มีชีวิตอยู่เป็นอาหารแม้แต่แมลงเราจะเรียกนกนั้นว่า นกนักล่า มีอาวุธพิเศษ สำหรับล่าสัตว์ขนาดใหญ่และแข่งแรงกว่ามันได้ เช่น งู หนู กระต่าย และลิงเป็นต้น อาวุธสำคัญที่นกใช้การล่าเหยื่อ มันจะมีขาและกรงเล็บที่แข็งแรงและแหลมคม ทำให้สามารถจับเหยื่อได้แน่นโดยจิกกรงเล็บเข้าไปในเนื้อของเหยื่อได้อย่างมันคง ปากปากของนกใช้ฉีกเหยื่อเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อยพอที่จะกลืนกินเข้าไปได้

นกโกโร โกโส

                 นกโกโร โกโส เจ้านกชนิดนี้คงจะมีรูปลักษณ์ที่ขี้ริ้วขี้เหร่ ไม่น่าดูตามชื่อของมัน นกชนิดนี้ชอบเดินหากินตามหลังหมูป่า คอยเก็บเมล็ดพืชและเศษอาหารจากมูลหมูป่าเป็นอาหาร ขณะเดียวกันก็จะส่งเสียงร้องขายหมูเด้อ ขายหมูเด้อ ไปด้วย ชาวบ้านจึงเรียกว่านกขายหมู  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมานกชนิดนี้เลยถูกเรียกว่า    นกโกโร โกโส   แต่ชาวบ้านแถวจังหวัดนครราชศรีมา เรียกชื่อนกนี้ว่า นกอีโหล

นกนางแอ่นกินรัง

นกนางแอ่นกินรังจัดอยู่ในกลุ่มนกนางแอ่นนกที่มีนิสัยเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือทำรังด้วยเยื่อเมือกโปร่งแสงที่สังเคราะห์มาจากต่อมน้ำลายของนกต่อมนี้จะมีขนาดโตขึ้นในฤดูผสมพันธุ์ นกจะใช้น้ำลายสานกับ เส้นใยเล็กๆ ของพืช เชน มอส สาหร่าย และรากไม้ เป็นนกที่พบทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยและจากพม่ามายังไทย มาเลเชีย อินโดนีเซียบริเวณสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และพาลาวันในประเทศฟิลิปปินส์ รังของนกชนิดนี้มีขนปนอยู่บ้างอีกชนิดหนึ่งคือนกนางแอ่นกินรังหรือนกนางแอ่นรังขาว

นกกาเหว่า

นกกาเหว่า นกดุเหว่าหรือนกโกกิลา เป็นนกในวงศ์นกคัคคู นกกาเหว่าเป็นนกขนาดใหญ่ ตัวยาวประมาณ 43 เซนติเมตรรูปร่างเพรียวหางยาวแต่ขาสั้นมีตาสีแดงสดมีปากสีเขียวคล้ำ นกตัวผู้มีขนสีดำมันตลอดทั้งตัว ส่วนตัวเมียด้านหลังมีสีน้ำตาลเข็ม มีลายจุดและลายขีดสีครีมตลอดทั้งตัว ด้านท้องสีครีมมีลายขวางสีน้ำตาล นกกาเหว่าอยู่ตามต้นไม้ ไม้พุ่ม บริเวณเรือนสวนไร่นา ที่ลุ่ม หนอง บึง ใกล้ๆบ้านพักอาศัยชอบซ่อนตัวเงียบๆอยู่ตามที่พุ่มไม้ใบหนาจึงทำให้เห็นตัวยากชอบกินผลไม้ แมลง หนอน สัตย์เลื้อยคลานและไข่นกเป็นอาหาร ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกตัวผู้จะส่งเสียงร้องดังตลอดเวลาโดยเฉพาะตอนเช้าตรู่และตอนพลบค่ำ จะเริ่มร้องตั้งแต่ท้องฟ้ายังมืดสนิทอาจถือได้ว่าเสียงแรกที่ใช้ปลุกนก และ สรรพสัตว์ต่างๆ ในละแวกนั้น ให้รีบตื่นขึ้นมาต้อนรับวันใหม่ที่กำลังจะมาถึงก็ได้

นกขุนทอง

นกขุนทองสามารถเลียนเสียงต่างๆได้เหมือนมากอย่างน่าอัศจรรย์ในทำเนียบของนกพูดได้ในประเทศไทย ผ่านมาเคยมีผู้ได้รับความสำเร็จอยู่บ้างในการนำลูกนกชนิดดังกล่าวนี้มาเลี้ยงและพยายามฝึกหัดให้พูดคำง่ายๆและสั้นรวมทั้งใช้วิธีการอื่นๆเช่นการขูดลิ้น ตัดปลายลิ้น ให้นกกิน พริกขี้หนูสด กินไข่แดงต้มคลุกข้าวสุก ความสามารถในการเลียนเสียงคนนี้นอกจากจะขึ้นในอวัยวะทำเสียงของนกในแต่ละพันธุ์แล้วยังขึ้นอยู่กับความสามารถของนกแต่ละตัวและจิตใจของผู้เลี้ยงนกด้วย

นกแก้ว

                 นกแก้วที่พบอยู่ ทั่วไปนั้นจะมีมากชนิดที่สุดแถบทวีป อเมริกาใต้ และทวีปออสเตรเลียในลักษณะเด่นชัดคือลำตัวอ้วน คอสั้น จะงอยปาก ใหญ่และสั้น จะงอยบนยาวและงุ้มลงคลุมจะงอยล่างนกแก้วจะมีขนาด 10 เซนติเมตรจนถึง 1 เมตรนกแก้วส่วนใหญ่จะมีสีเชียวสดสวย เช่นสีแดง เหลือง ฟ้า ม่วง ดำ แต้มตัดกันชัดเจนมาก นกแก้วส่วนใหญ่ใชเวลาอยู่บนต้นไม้จึงมีเท้าที่เหมาะสำหรับ ใช้ในการปีนไปตามกิ่งไม้โดยเฉพาะและชอบใช้งอยปากช่วยจับยึดใน การเคลื่อนตัวไปข้างหน้าด้วย

นกการเวก

                 เมื่อกล่าวถึงชื่อ นกการเวก นกการวิก หรือ นกกรวิก จะหมายถึง นกสองประเภท ประเภทแรก เป็นนกในนิยาย เชื่อว่าเป็นชนิดเดียวกับนกวายุในป่าหิมพานต์ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากบนเขาชื่อเขากรวิก ซึ่งล้อม รอบเขาพระสุเมรุชั้นที่ 3 บินได้สูงเหนือเมฆมีเสียงร้องที่ไพเราะจับใจสัตว์หรือมนุษย์ที่ได้ยินเสียงนี้ก็จะเกิดอาการง่วยลืมกิจกรรมที่ทำอยู่จนหมด ปัจจุบันใช้ตรานกวายุภักษ์เป็น ตราของกระทรวงการคลัง นกที่มีตัวตนจริงๆมี 43 ชนิดตัวอ้วนป้อมคล้ายนกเอี้ยงจนถึงอีกา อาศัยอยู่ในป่าชื้นเขตร้อนในที่ราบต่ำจนถึงยอดเขาพบมีมากที่สุดบนเกาะนิวกินีและมีอีกไม่กี่ชนิดในหมู่เกาะโมลุกกัส และบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย นกการเวกมีทั้งกินผลไม้ ใบไม้และน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหารและชนิดกินแมลงและสัตว์เล็กๆ อื่นๆ เป็นอาหาร การผสมพันธุ์จะขึ้นอยู่ในแต่ละชนิด พวกที่อยู่เป็นคู่จะช่วยกันทำรังและดูแลลูกในรัง

นกกระเรียนคืนถิ่น

                   ไม่น่าเชื่อเลยว่าประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่สมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติโดยเฉพาะทรัพยากรพืชและสัตว์ซึ่งได้ขาดแคลนทรัพยากรเหล่านี้เสียแล้ว ในปัจจุบันนี้พืชและสัตว์บางชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้วและอีกหลายชนิดหายากมากและใกล้สูญพันธุ์เข้าไปทุกที รวมทั้งนกกระเรียนที่มีรายงานว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้วในประเทศไทย เนื่องจากไม่มีรายงานการพบในธรรมชาติมาร่วม 30 ปีแล้วสาเหตุการสูญพันธุ์นี้มี 3 ประการด้วยกัน คือ การล่ากันอย่างมากมายในอดีต การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยแหล่งอาหาร และสถานที่สร้างรังวางไข่และประการสุดท้ายเนื่องมาจากพฤติกรรมของตัวนกเองคือเจริญพันธุ์ช้า จะผสมพันธุ์ก็ต่อเมื่อมีอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง และยงมีพฤติกรรมที่มันมีความผูกพันกับคู่ของมันมาก โดยไม่ยอมทิ้งคู่ของมันที่ถูกยิงบาดเจ็บ หรือตายไป แต่จะยืนเฝ้าอยู่ใกล้ๆจึงทำให้มันถูกยิงตายตามคู่ของมันไปด้วย

นกกระรางหัวขวาน

นกกระรางหัวขวาน เป็นที่เล็กที่สุดเราะมีนกในวงศ์อยู่เพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือนกกระรางหัวขวาน นั่นเองลักษณะที่สำคัญของนกในวงศ์นี้ คือมี จะงอยปากเรียวยาวสีดำโค้งเล็กน้อยตั้งแต่โคนปากลงมาปลายแหลม ลิ้นสั้น นิ้วเท้าที่ยื่นมาทางด้านหน้า 2 นิ้ว คือ นิ้วที่ 3 และนิ้วที่ 4 จะเชื่อมติดกันเฉพาะตรงโคนนิ้วนกกระรางหัวขวานเป็นนกขนานกลางเท่านกเอี้ยงสาริกา ลำตัว เพรียวยาวประมาณ 31 เซนติเมตร รวมทั้งปากซึ่งยาว 6 เซนติเมตร และหางยาว 11 เซนติเมตร เป็นนกที่มีสีสวยงามสะดุดตามาก อย่างที่ดูเด่นและจำได้ง่าย สามารถแยกออกจากนกชนิดอื่นได้ในทันทีที่มองเห็น คือ มีลำตัวตั้งแต่หัว คอ ไหล่ และอก สีน้ำตาลอมชมพู หลัง ปีก และหางสีดำสลับลายขวางสีขาวติดกันเด่นชัด ที่เด่นที่สุดคือขนยาวๆบนหัวที่บางคนเรียกหงอนซึ่งเป็นสีน้ำตาลแดง ปลายสีดำ ปกติขนนี้จะพับเอนราบไปกับหัว แต่เวลาตื่นเต้นจะคลี่ออกมีลักษณะเป็นพุ่มคล้ายพัด หรือคลายขนนกที่พวกอินเดียแดงใช้ปักศีรษะ ด้านทองมีสีครีม ทั้งตัวผู้และตัวเมียคล้ายกันมาก ต่างกันที่ตัวเมีย มีขนาดเล็กกว่าและมีสีจางกว่าตัวผู้เล็กน้อย


นกกก

                    นกกกหรือนกกาฮัง(Great hornbill)เป็นประจำถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดานกในวงศ์นกเงือก (Bucerotidae)พบในอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ของจีน พม่า มาเลเชีย สุมาตรา สำหรับในประเทศนั้น พบได้ทั่วๆไปยกเว้นตอนกลางของประเทศ ชอบอาศัยในป่าดงดิบ ตั้งแต่พื้นราบจนถึงระดับความสูง 2,000 เมตรส่วนใหญ่จะอยู่บนต้นไม้ ลงมายังพื้นดินเพื่อจิกกินอาหารเท่านั้น กินผลไม้เป็นอาหารหลัก นอกจาก นี้ยังกินแมลง นก หนู และสัตว์เลื้อยคลานอีกด้วย นกในวงศ์นกเงือกนี้มีพฤติกรรมการสร้างรัง และการผสมพันธุ์ น่าสนใจมาก มันจะสร้างรังอยู่ในโพรงไม้ขนาดใหญ่ สำหรับนกกกนั้นจะ สร้างรังในโพรงไม้ขนาดใหญ่ที่อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 12-22 เมตรเมื่อใกล้ ฤดูผสมพันธุ์ ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันหาโพรงไม้ที่จะใช้เป็นรัง เมื่อพบ แล้วนกตัวผู้จะบินเข้าสำรวจที่ปากโพรง และกระตุ้นนกตัวเมียให้เข้าไป สำรวจโดยการบินกลับไปกลับมาที่รังบางครั้งจะบินไปคายเศษอาหารลงในรัง ถ้าเมียตอบรับก็จะบินเข้าไปสำรวจโพรงไม้หลังจากนั้นนก ทั้งคู่ก็จะบินมาเกาะกิ่งไม้เคียงคู่กัน นกตัวผู้จะยื่นผลไม้สุกแดงให้ตัวเมีย ในระยะแรกนกตัวเมียจะไม่ยอมรับอาหารจากตัวผู้ นกตัวผู้จะพยายามอยู่นาน ในขณะเดียวกันก็จะบินมาเกาะรอบรัง ขยอกเศษอาหารลงไปในรังเป็นครั้ง คราว หลังจากนกตัวเมียยอมรับอาหารแล้วการผสมพันธุ์ก็เกิดขึ้น
หลังจากนั้นอีก 2-3 วัน นกตัวเมียก็เริ่มทำความสะอาดรัง ขจัด เศษดิน เศษอาหาร ขนนกและมูลนกออกจากรัง แล้วเริ่มเข้าไปปิดปากรัง จากด้านใน โดยใช้ดิน เศษอาหาร และมูลของนกเองนกจะปิดปาก รังจากด้านข้างเข้า ใช้ปากด้านข้างเกลี่ยให้เรียบ ขณะที่นกตัวเมียกำลังปิด ปากรังนกตัวผู้จะเกาะกิ่งไม้คอยอยู่ด้านนอก บางครั้งจะช่วยเอาดินมาให้ นกตัวเมีย หรือช่วยเอาดินมาปิดปากรังตัวเมียออกจากรังด้านนอก เมื่อตัวเมียออกจากรัง รังก็จะป้อนอาหารให้ทันที ระยะปิดปากรังจะกินเวลาประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วนกตัวเมียก็จะเข้าไปอยู่ในรัง แต่จะบินออกจากรังเป็นครั้งคราว อีก 5-8 วัน


นกกาบบัว

                 เป็นนกในวงศ์นกกระสาเป็นนกขนาดใหญ่ที่มี ความยาวถึง 102 เซนติเมตร ขณะยืนมีความสูงถึง 90 เซนติเมตร ขนบน ลำตัวเป็นสีขาวมีลายสีดำเหลือบเขียวบนหลัง และมีสีชมพูอ่อนอย่างสีกลีบดอกบัวหลวงแต้มอยู่บนปีกและส่วนหลังตอนล่าง มีแถบสีดำคาดขวาง บริเวณอก ขนปีกและขนหางสีดำ จะงอยปากยาวสีออกเหลือง หนังที่หน้า สีเหลืองเป็นมัน ขายาวสีน้ำตาลอ่อน นกที่มีอายุน้อยขนบนลำตัวจะมี สีน้ำตาลอ่อน ขนคอมีลายตามขอบสีดำและไม่ลายดำคาดตรงจีนนกกาบบัวมีเขตแพร่กระจายตั้งแต่ประเทศอินเดีย ไทย อินโดจีน มาลาเซีย ตอนใต้ของจีนตะวันออกและตอนใต้ของพม่า ในประเทศไทยนั้น มีรายงานการพบนกกาบบัวในพื้นที่ลุ่ม แต่ปัจจุปันมีรายงานการพบใน ธรรมชาติน้อยมาก
                   นกกาบบัวชอบอาศัยและหากินอยู่ตามที่ลุ่ม หนองน้ำ ทะเลสาบ ตามทุ่งนา พบหากินตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยเดินลุยน้ำบริเวณ น้ำตื้นไปอย่างช้าๆ อ้าปากจมลงไปส่ายหาอาหารในน้ำ และตามดินโคลนนานๆ จะใช้เท้าข้างหนึ่งโบกไล่เหยื่อให้เข้าไปบริเวณใกล้ปาก อาหาร ส่วนใหญ่เป็นสัตย์ที่อยู่ในน้ำ เช่นปลา ปู กุ้ง หอย กบ งูน้ำและแมลงน้ำ บางชนิด ตอนกลางคืนเกาะพักนอนเป็นกลุ่มบนต้นไม้สูงรวมกับนกกระสา ชนิดอื่นๆ นกยางและนกกระทุง ฯลฯ
นกกาบบัวจับคู่กันในลักษณะผัวเดียวเมียเดียว (monogamous)ฤดูผสมพันธุ์ขึ้นอยู่กับระดับน้ำและความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร






นกกาน้ำ

                  เป็นนกสีดำมันตลอดทั้งตัวเหมือน อีกา แต่มักพบหากินอยู่ในน้ำ จึง ได้ชื่อ ว่า นกกาน้ำส่วนใหญ่จะมีขนสีดำมัน ยกเว้น บางชนิดจะมีผิวหนังที่ไม่มีขน บริเวณ หัวและคอเป็นสีสด เช่น สีฟ้า สีเหลือง สีส้มและสีขาว ในฤดูผสมพันธุ์นกกาน้ำบางชนิดจะมีขนสีขาว บ้างเล็กน้อยแซมขึ้นมาตามส่วนต่างๆ ของลำตัวโดยเฉพาะส่วนหัว สำหรับ นกกาน้ำวัยอ่อนนั้นจะมีขนสีน้าตาลกนกาน้ำเป็นนกกาขนาดปานกลางถึงขนาดใหญ่ ลำตัวยาวตั้งแต่ 45-100 เซนติเมตร มีลำตัวเพรียว ปากาวเรียว ปลายปากงุ้มลง คอยาว หางยาว และแข็งแรง ปลายหางมนกลม ขาสั้นและอยู่ค่อนไปทางหลังของ ลำตัวเช่นเดียวกับพวกเป็ด จึงเหมาะสำหรับการน้ำมากกว่าขึ้นมาเดินบน บก เท้าใหญ่มีแผ่นหนังบางๆ ยึดติดกันระหว่างนิ้วเท้าทั้งสี่
                  อาหารของนกกาน้ำคือสัตว์ ดังนั้นมันจึงต้องอาศัยอยู่ใกล้แหล่ง น้ำและต้องปรับตัวเองให้เหมาะกับการว่ายน้ำและดำน้ำหาอาหาร คือมี ลำตัวเพรียวเพื่อลดแรงต้านทาดำน้ำไล่เหยื่อ ขนเปียกน้ำง่ายจึงรีดฟองอากาศออกได้หมด กระดูกมีโพรงน้อยมาก ทำให้ได้ไล่เหยื่อ ขนเปียกน้ำง่ายจึงรีดฟองอากาศออกได้หมด กระดูกมีโพรงน้อยมาก ทำให้ดำได้ลึก เปลือกตา ชั้นในโปร่งแสงจึงสามารถลืมตาและมองเห็นได้ขณะอยู่ใต้น้ำ ลักษณะนิ้วเท้า นกกาน้ำ เหมาะแก่น้ำจะหากินทั้งบนผิวน้ำและในน้ำลึก เมื่อได้ อาหารแล้วส่วนใหญ่มันจะนำมากินบนผิวน้ำหรือตามชายฝั่ง อาหาร บนกิ่งไม้ ตอไม้ ก้อนหิน หรือตามชายฝั่งจะยืนใน ลักษณะที่ยกตัวตั้งขึ้นเกือบตรง กางปีก กางหางผึ่งให้ขนแห้ง มันจะยืนอยู่ จนกว่าจะหิวจึงลงน้ำไปหากินอีกครั้ง นกกาน้ำมีปีกเล็ก จึงมักบินในช่วง สั้นๆแต่ก็สามารถบินไปไกลๆได้ จะลำบากเฉพาะช่วงแรก ที่เริ่มโผขึ้นจาก พื้นเท่านั้น
                   นกกาน้ำจะนอนและสร้างรังรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่บนต้นไม้ บนพื้น ดินหรือตามโขดหิน บางครั้งพบรวมตัวอยู่กับนกยาง สำหรับประเทศไทยนั้น พบสร้างรังที่วัดตาลเอนและ วัดขนอนใต้ จังหวัดพระศรีอยุธยา บ้านท่าเสด็จ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้นนกกาน้ำสร้างรังโดยใช้กิ่งไม้วางซ้อนๆ กัน มีแอ่งสำหรับวางไข่อยู่ ตรงกลาง วางไข่ครั้งละ2-4ฟอง สีเขียวอมอมซีดๆ ระยะฟักไข่ประมาณ 21-35 วัน ทั้งพ่อนกและนกจะช่วยกันกกไข่ มันจะเริ่มกกไข่ตั้งแต่วางไข่ ฟองแรกแล้ว ดังนั้นลูกนกที่ออกมาจึงมีขนาดแตกต่างกันมาก

นกกระสาแดง

                 เป็นนกยางขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 1 เมตร ปากยาวสีเหลือง ปลายแหลมและตรง หัวสีน้ำตาลอมเหลือง ด้านบนสีดำ ท้ายทอยมีเปียสีดำ ห้อยอยู่ 2-3 เส้น ขนใต้คางขาว คอยาวสีน้ำตาลแดงและงออยู่ตลอดเวลา มีเส้นดำพาดจากหัวมาถึงฐานคอ ตามแนวกึ่งกลางลำคอ จากมุมปากพาคใต้ตาถึงท้ายทอย อีกเส้นพาคจากมุมปาก มาตามความยาวด้านข้างลำคอถึงฐาน คอด้านหน้า ที่ฐานคอมีพู่ขนสีขาว และสีน้าตาลห้อยอยู่ ในฤดูผสมพันธุ์พู่ขนนี้จะมีสีเข้มขึ้น ลำตัวตอนบนปีก อก และท้อง สีเทาอม ดำ นิ้วตีนยาวมากสามารถเกาะจับลำต้นไม้พืชใต้น้ามั่นคง มักไม่เดินบนบก ส่วนใหญ่จะยืนเกาะอยู่นิ่งๆออกหากินเวลาเช้าและพลบค่ำ ตามพงอ้อ หรือกอหญ้าสูงๆริมหนอง คลองบึง การหาเหยื่อจะค่อยๆย่างไปตามชายน้ำ แล้วยืนนิ่งรอจนเหยื่อเข้ามาใกล้ แล้วจึงจิกจกอย่างเร็วแรงให้ปากเสียบติดเหยื่อและสะบัดเหยื่อลงบนพื้น ใช้ปากงับจนตาย ก่อนกลืนกิน เป็นนกที่อยู่ตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์จะจับคู่ และทำรังในพงอ้อ พงน้ำสูงๆหรือต้นไม้สูงใกล้ชายน้ำ วางไข่ครั้ง ละครั้ง ละ 3-5 ฟอง ทั้งคู่ผลัดกันกกไข่ ใช้เวลาฟักประมาณ 33 วัน พบในทุกภาค ยกเว้นตอนกลางของภาคกลางตะวันออกเฉียงเหนือ

นกกระสาดำ

                 เป็นนกขนาดใหญ่สุดในโลกของประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในโลก ยาวประมาณ 1.35 เมตร สูงประมาณ 1.70 เมตร น้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม ปากใหญ่ปลายแหลมสีดำ หัวและคอสีดำเหลือบเขียว กลางกระหม่อมสีเหลือบม่วง ขนบนหลังและโคนปีกตอนหน้าสีขาวตอนหลังถึงหางสีดำ อก ท้อง และโคนขาสีขาว ขายาวสีแดง ตัวผู้ตาสีน้ำตาล ตัวเมียตาสีเหลือง ขณะบินมีลักษณะเช่นเดียวนกกรสาขาว ขายาวสีแดง ตัวผู้ตาสีน้ำตาล ตัวเมียตาสีเหลือง ขณะบินมีลักษณะเช่นเดียวกับนกกระสาขาว คือ ปาก หัว ลำตัว หางและขาเหยีอดเป็นเส้นตรงมักอยู่ตามลำพังหรืออยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ พ่อ แม่ ลูก หากินตามแม่น้ำ ทุ่งนา หนองน้า ขณะจับเหยื่อจะกระโดดกางปีก และวิ่งสลับฟันปลาเพื่อไล่ปลาเพื่อ แล้วใช้ปากงับ
                  ในฤดูผสมพันธุ์จะจับคู่กัน และมีการต่อสู้แบ่งเขตกัน ทั้งคู่ตัวและตัวเมียจะช่วยกันทำรังบนยอดไม้ ซึ่งสูงจากพื้นดิน 20-25 เมตร วางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง ทั้งคู่ผลัดกันกก นานประมาณ          33 วัน พบในทุกภาค เว้นภาคตะวันเฉียงตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุปันมีเหลืออยู่น้อยมาก

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นกกระสาขาว

                  เป็นนกขนาดใหญ่ มีขนาดตั้งแต่ความยาวประมาณ 1 เมตร หนัก 2.5-4.5 กิโลกรัม ปาก ลำคอ อก ท้อง และก้นสีขาว ลำตัวตอนท้าย ด้านบนสีดำ ครึ่งปีกด้านหน้าสีขาว ด้านหนังสีดำ ปลายหางตอนบสีดำ ตอนล่างสีขาว ขาสีแดง ขณะบินจะยืดหัวและคอตรงไปข้างหน้า จะยืดขาตรงไปข้างหลัง เหนือระดับ หางเล็ก ขณะบินเป็นกลุ่มจะบินอย่างไม่เป็นระเบียบ ปีกตีลมเสียงดังมาก หากินเป็นฝูง การหาเยื่อจะก้าวเดินไปในแหล่งน้ำที่ไม่ลึกนัก ใช้ปากจิกหาเหยื่อในน้ำ ผสมพันธุ์เมื่ออายุ 3-4 ปีทั้งตัวตัวผู้และตัวเมีย จะผลัดกันกกไข่ ส่วนกลางคืนตัวเมียจะกก ใช้เวลาฟักประมาณ 33 วัน เคยพบที่นครปฐม ปัจจุปันเข้าใจว่าใกล้จะสูญพันธุ์จากประเทศไทย

นกกระเรียน

                  เป็นนกขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 1.25 เมตร สูง 1.5 เมตร ขนสีเทา คอยาว หัวและลำคอตอนบนมีแต่หนังและขนเส้นเล็กๆ สีแดง สายตาไวมาก ปากเรียวแหลม ปีกกว้างและและยาว หางสั้น ขายาวสีแดง ขณะบินหัว คอ ลำตัว และขา จะยืดเป็นแนวตรงหากินเป็นคู่หรือกลุ่มเล็กๆ ตามทุ่งหรือดงหญ้า หนอง บึง ไม่เปลี่ยนคู่ หรือแยกจากันเมื่อคู่ได้รับอันตรายก็ไม่จะทอดทิ้ง มักร้องเสียงแกร๋ แกร๋ ในเวลาเช้าและเย็น ผสมพันธุ์ในฤดูฝนโดยมีการเกี้ยวกันก่อน รังมีขนาดใหญ่ ทำด้วยต้นไม้เล็กๆกิ่งไม้แห้ง และใบหญ้า นำมาสานเป็นรูปกระทง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-5 เมตร มักอยู่บนกอหญ้าหรือบริเวณน้ำตื้น
                    วางไข่ครั้งละ1-3 ฟองเวลาฟัก 28-34 วัน ตัวเมียกกไข่มากกว่าตัวผู้ ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 3 ปี มีอายุอายุ 50-60 ปี ในฤดูผลัดขนจะเกือบไม่ได้ เป็นนกที่หายาก

นกกระทุง

               เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ยาวประมาณ1.5เมตร ขาใหญ่สั้นสีน้ำตาลดำ มีพังพืดติดระหว่างนิ้ว ปากยาวใหญ่ปลายแบนสีชมพู ปลายเป็นจง พื้นปากล่างสามารถขยายเป็นกระพุ้งขนาดใหญ่สำหรับเก็บปลาที่จิกได้ไว้ทีละมากๆ ตาสีน้ำตาลแดงมีเหลืองขนบริเวณด้านหลังของคอตั้งเป็นสัน จากคอไปถึงท้ายทอย ขนตามลำตัวเป็นสีขาวอมเทา ปลายแซมสีดำ หางและตอนล่างของลำตัวสีน้าตาล ในฤดูผสมพันธุ์ ขนตอนบนของถ้าตัวจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงิน ตอนลาวเป็นสีขาว
        นกกระทุงมักอยู่และออกหากินเป็นฝูง ขณะอยู่ในฝูงจะหันหน้าไปในทางทิศทางเดียวกัน เวลาบินจะหดคอเข้ามา เมื่อบินระยะไกล จะบินเหลื่อมกันเป็นแถวเรียงหนึ่ง หรือเป็นรูปคล้ายหัวลูกศร การจับปลาอาจทำโดยบินขึ้นสูง แล้วทิ้งตัวพุ่งดิ่งลงไปในน้ำเพื่อให้ดำได้ลึกชอบเลียนแบกัน คือถ้าตัวหนี่งทำอะไร ตัวอี่นๆ ก็จะทำตาม เช่น กลับหัวลงช้อนปลาพร้อมๆ กัน
         นกกระทุงทำรังรวมกันเป็นกลุ่มบนต้นไม้ ร่วมกับนกกระทุงด้วยกัน หรือกับนกกินปลาชนิดอื่น รังจะทำ    อยู่บนต้นไม้สูงๆในป่า การผสมพันธุ์จะตกประมาณดือนพฤศจิกายน วางไข่คราวละ 3-5 ฟอง ทั้งคู่พลัดกันกกไข่นาน 4-5 สัปดาห์ จึงออกเป็นตัว


                                                                               

นกกระทา

             เป็นหากินตามพื้นดินยาว 17-33 เซนติเมตร ตัวกลม สีน้ำตาลอมดำ มีมีลายเป็นนกกระ นกกระทาแต่ละชนิดมีลายแตกต่างกัน ปีกและหาวสั้น ตัวเมียสีจางกว่าและลายไม่ชัดเจน ขาสีน้ำตาลเหลืองยกเว้นนกกระทาดงขาสีเขียว ปกติมีเดือยการหาอาหารจะหาอาหารบนพื้นดินเช่นเดียวกับไก่ บินได้ในระยะใกล้ ๆ มักจะวิ่งกว่าบิน ทำรังอยู่ตามพื้นดินมีหญ้าคลุม วางไข่คราวละ 3-14 ฟองใช้เวลาฟัก 20-30 วัน ลูกนกที่ออกไข่สามารถวิ่งได้ทันที
       นกกระทาในไทย มี 8 ชนิด ที่อาศัยอยู่อยู่ตามทุ้งหย้าเรียกนกกระทาทุ่ง ที่อาศัยตามป่าดิบชื้น หรือบนภูเขา เรียกกระทาดง ดังนี้
นกกระทาทุ้ง อยู่ตามป่าโปร่งที่มีทุ้งหญ้า อยู่เดี่ยวหรือเป็นคู่ เสียงขันได้ยินไปแต่ไกล พบทุกภาคยกเว้นภาคใต้
นกกระทาดงแข้งเขียว มักอยู่โดดเดี่ยว นอกจากในฤดูผสมพันธุ์จึงอยู่เป็นคู่ พบทุกภาคในป่าทุกประเภท
นกกระทาดงจันบูร อยู่ตามป่าดงดิบสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 3000 เมตร ขึ้นไป พบเฉพาะภาคตะวันออก บริเวณเขาสอยดาว จันทบุรี

นกกระแตแต้แว้ด

        เป็นนกขนาดกลาง ยาวประมาณ 32 เซนติเมตร ปากยาวตรงสีแดง ปลายสีดำหัวสีดำ มีแถบขาวที่หู มีติ่งเนื้อสีแดงตรงโคน ปาก คอหนาสั้นสีดำ ตัวป้อม ท้องและอกขาว ปีกตอนบนสีน้ำตาล ปลายสีดำและมีแทบขาวอยู่ระหว่างสีน้ำตาลและสีดำ มีเดือย แหลมที่หัว ปีกใช้ในการต่อสู้ หางสั้น โคนหางสีดำปลายขาว ขายาวสีเหลืองนกชนิดนี้มักวิ่งหากินบนพื้นดินตามบริเวณใกล้แหล่งน้ำ ทำรังเป็นหลุมตื้นๆ บนพื้นดินวางไข่ครั้งละ 4 ฟอง ทั้งคู่ผลัดกันกกไข่นานประมาณ 25 วัน จึงฟักเป็นตัว
เป็นนกที่พบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคเหนือบางส่วน และภาคอีสานตอนล่าง เสียงร้องกระแตแต้แว้ดมักร้องรับกันเป็นทอดๆ โดยเฉพาะเมื่อเห็นศัตรู เมื่อจวนตัวจะวิ่งอย่างเร็วไปให้ไกลจากรัง แล้วล้มลงแกล้งทำเป็นชัก นอนตาแดง หรือนอนหงายตีนชี้ฟ้า เพื่อล่อศัตรูให้หลงวิ่งตามไป จากนั้นก็จะบินหนีไป การทำเช่นนี้เพื่อป้องกันศัตรูมากินลูกในรัง

นกกระเต็น

             
    เป็นนกที่มีหลายขนาด ความยาวตั้งแต่ 10-46 เซนติเมตร มีอยู่ทั่วโลก ยกเว้นขั้วโลก และเกาะบางเกาะที่อยู่ห่างแผ่นดินใหญ่ที่เกาะที่อยู่ห่างแผ่นดินใหญ่ รูปร่างอ้วนป้อม หัวโต คอสั้น ปากใหญ่ตรงและปลายแหลม ขาสั้นเล็ก สีสันสดใสทั้งตัว ประกอบด้วยสีเขียว น้ำเงิน แดง น้ำตาล และขาว นกกระเต็นบินเร็ว ตรง กระพือปีกถี่มาก สลับด้วยการร่อนระยะสั้นๆ มักจะส่งเสียงร้องขณะบินแต่เสียงไม่เพราะ ส่วนใหญ่ทำรังในดินตามตลิ่ง ริมฝั่งน้ำ โดยใช้ปากเจาะรู แล้วใช้เท้าเขี่ยดินออก รูลึกมาก 1-3 เมตร วางไข่ครั้งละ 5-8 ฟอง ใช้เวลาฟัก 18-24วัน ทั้งคู่ผลัดกันฟักไข่ ลูกนกมีอายุ 3-4 สัปดาห์ จึงออกจากรัง แต่ยังอยู่ในความเลี้ยงดูแลของพ่อแม่นก

                         ในประเทศไทย มีนกกระเต็น อยู่ 13 ชนิด เป็นอพยพตามฤดู 5 ชนิด                                                 นกกระเต็นขาวดำใหญ่ พบทางภาคเหนือ ละภาคตะวันตก พบเห็นได้ยาก
นกกระเต็นปักหลัก พบตามแหล่งน้ำใหญ่ๆ ในทุกภาค เว้นใต้
นกกระเต้นน้อย พบทั่วภาค ส่วนใหญ่นกอพยพ
นกกระเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน นกกระเต็นน้อยสามนิ้ว พบตามแหล่งน้าในป่าทุกภาคเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นกกระเต็นน้อยแถบอกดำ พบตามลำธารในป่าภาคใต้ พบไม่มากนัก
นกกระเต็นลาย พบตามป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าไผ่ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบเห็นได้ง่าย
นกกระเต็นใหญ่ปากสีน้ำตาล พบตามป่าชายเลนฝั่งทะเลอันดามัน ที่มีต้นไม้ใหญ่ พบเห็นได้ยาก
นกกระเต็นแดง พบทางภาคใต้และภาคตะวันออก ตามป่าชายเลน บางส่วนเป็นนกอพยพ
นกกระเต็นอกขาว พบทั่วไปในทุกภาค ชอบเกาะตามสายไฟที่อยู่ชานเมือง
นกกระเต็นหัวดำ พบทั่วทุกภาค เป็นนกอพยพ

ถิ่นอาศัย

              นกแต่ละชนิดมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับถิ่นอาศัยต่างๆ เราจึงสามารถพบนกได้ทุกหนทุกแห่งในสภาพแวดล้อมอันหลากหลาย ซึ่งพอจะแบ่งถิ่นอาศัยของนกได้ดังนี้
บริเวณชาดหาดและท้องทะเล
มีนกหลายชนิดที่เดินหากินตามแนวหาดทรายชายทะเล เช่น นกหัวโตมลายู และนกยางทะเล เป็นต้น ขณะที่นกหลายชนิดโผผินบินร่อนอยู่ตามหน้าผาริมทะเล หรือแม้แต่ในทะเลลึกก็เป็นแหล่งหากินของนกขนาดใหญ่ เช่น นกโจรสลัด  ซึ่งนกโจรสลัดสามารถบินวนอยู่บนท้องฟ้าได้เป็นเวลาหลายวันโดยไม่ต้องร่อนลงบนพื้นดิน โดยนกที่หากินในท้องทะเลนี้ เรามักเรียกว่า นกทะเล
บริเวณป่าชายเลนและปากแม่น้ำ
ตามแนวชายฝั่งที่มีไม้ชายเลนขึ้นหนาแน่นเป็นถิ่นอาศัยของนกมากมายนกกินเปี้ยว และเหยี่ยวแดง เป็นตันโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะมีนกอพยพย้ายถิ่นเข้ามาพักอาศัยเป็นจำนวนมากนกที่หากินตามป่าชายเลนนี้มีชื่อเรียกโดยรวมว่า นกชายเลน นอกจากนี้ก็มีฝูงนกนางนวลซึ่งเป็นนกทะเลหากินบริเวณนี้ด้วย
บริเวณทุ่งหญ้า ที่ลุ่มน้ำขังและหนองบึง
พื้นที่เกษตรกรรมแถบชานเมืองหรือในชนบทเป็นที่อยู่ของนกหลายชนิด นกอาศัยอยู่ตามทุ่งนาหรือทุ่งหญ้าโล่ง เรามักเรียกกันว่า นกทุ่ง เช่น นกตะขาบทุ่ง นกกระจิบหญ้า เป็นต้น ส่วนนกที่อาศัยตามแหล่งน้ำเช่น หนอง บึง ทะเลสาบ เรามักเรียกว่า นกน้ำ เช่น นกย่าง นกเป็ดน้ำ และ นกกวักเป็นต้น
ป่าไม้ประเภทต่างๆ
ถือว่าเป็นสถานที่ที่มีนกอาศัยอยู่มากกว่าแห่งอื้น เนื่องจากเหมาะแก่การดำรงชีวิตของนกนานาชนิด เช่น นกเงือก นกขุนแผน นกโพระดก และนกแต้วแล้ว เป็นต้นนกที่อาศัยในป่ามีชื่อเรียกโดยรวมว่า นกป่า

อาหารของนก

        ในแต่ละวันนกต้องการอาหารจำนวนมากเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึม (metabolism)
โดยนกแต่ละชนิดจะหาอาหารที่แตกต่างกันออกไป นกบางชนิดเลี้ยงชีพด้วยน้ำต้อย บางชนิดเลี้ยงชีพด้วย
ธัญพืช แมลง สัตว์พวกหนู สัตว์พวกกิ้งก่า ปลา ซากเน่า ไปจนถึงนกด้วยกัน นกจะพัฒนารูปร่าง ปีก ขา
และปาก ให้มีลักษณะเหมาะสมกับการหาอาหาร นกส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางวัน มีนกเพียงบางชนิดเท่านั้นที่หากินในเวลากลางคืน
       นกบางชนิดหากินร่วมกันเป็นฝูง เช่น ฝูงนกนางนวลที่บินร่อนหาปลาตามชายทะเล หรือฝูงนกเป็ดน้ำรวมตัวกันแหวกว่ายอยู่ในบึง ซึ่งการหากินร่วมกันเป็นฝูงใหญ่ชวยให้นกหาอาหารง่ายขึ้นและได้ปริมาณมากกว่าหากินตามลำพัง รวมทั้งยังช่วยกันระวังภัยได้เป็นอย่างดี
      ส่วนนกบางชนิดก็มีพฤติกรรมการหาอาหารร่วมกับสัตว์อื่น เช่น นกเอี้ยงที่หากินร่วมกับวัวควายโดยนกเอี้ยงจะคอยจับแมลงที่พากันบินหนีขึ้นมาเมื่อวัวควายเดินย่ำกันไปบนดิน นอกจากนี้นกเอี้ยงยังชอบเกาะบนตัววัวควายเพื่อจับแมลงที่บินตอมตามตัววัวควายอีกด้วย

วิวัฒนาการ

นกมีความคล้ายคลึงกับสัตว์เลื่อนคลานหลายประการ เช่น โครงสร้างของกระดูกและกล้ามเนื้อเกล็ดที่ การออกลูกเป็นไข่ และการเจริญเติบโตของตัวอ่อน จึงเชื่อกันว่านกในปัจจุปันถือกำเนิดมาจากสัตย์เลื้อยคลาน
      ยิ่งไปกว่านั้นมีหลักฐานซากดึกดำบรรพ์จำนวนมากยืนยันว่านกมีวิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์เทอโรพอด
ตัวอย่างเช่น ซากดึกดำบรรพ์คือออพเทอริกซ์ที่คันพบในแคว้นบาเรีย ประเทศเยอรมณี เมื่อปี ค.ศ. 1861
ซากดึกดำบรรพ์นี้มีอายุประมาณ  150 ล้านปี บ่งบอกว่าอาร์คีออฟเทอริกซ์อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิกและมีลักษณะ
กึ่งนกกึ่งเทอโรพอด โดยอาร์คีออฟเทอริกซ์ต่างจากนกในปัจจุบันตรงที่มีสามเล็บยื่นออกมาจากอุ้งมือมีฟันที่ปาก และมี
กระดูกหางยาว แต่ขณะเดียวกันบริเวณลำตัวก็มีขนนกปกคลุม ทำให้นักปักษีวิทยาเชื่อว่าอาร์คีออฟเทอริกซ์
น่าจะเป็นบรรพบุรุษของนกในปัจจุบัน
    เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการคันพบซากดึกดำบรรพ์ครีพโทโวแลนส์ที่ประเทศจีน ซึ่งมีสันที่กระดูกอก และส่วนยื่นรูป
ตะขอที่ซี่โครง ซากดึงดำบรรพ์คริพโทโวแลนส์จึงนับว่ามีความเป็นนกมากกว่าซากดึกดำบรรพ์ใดๆที่เคยค้นพบ